3 กูรูจับทิศทางลงทุน ฝ่า “โอไมครอน-เฟดขึ้นดอกเบี้ย”

ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ระลอกแล้วระลอกเล่า ล่าสุดก็มีโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเข้ามา ขณะที่การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจก็ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ซึ่งตอนนี้ทุกฝ่ายต่างจับตากันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นในปี 2565 เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง ทั้งนี้ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สร้างความผันผวนให้กับการลงทุนอยู่ตลอดเวลา

“มนรัฐ ผดุงสิทธิ์” กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า ปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อทีแรก เข้าใจกันว่าเป็นภาวะชั่วคราว แต่ความจริงแล้วคงไม่ใช่

โดยตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า เงินเฟ้อมาแรงและจะอยู่นาน ขณะเดียวกันปัญหาห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่ขาดแคลนก็ไม่ได้แก้ไขได้ง่าย ๆ

ดังนั้นเมื่อเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มสูงที่เฟดจะต้องลดระดับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ลง ซึ่งการลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ในช่วงนี้ คงต้องมองที่หุ้นขนาดกลาง-เล็ก (mid-small cap)

“หากเป็นการลงทุนในไทย อาจจะต้องเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน ขณะที่หุ้นในกลุ่มเปิดเมือง เป็นกลุ่มที่ในช่วงก่อนหน้านี้มีการปรับตัวขึ้นมาพอสมควรแล้ว บวกกับพอมีสถานการณ์โควิดสายพันธุ์โอไมครอนเข้ามา ทำให้ความน่าสนใจลดน้อยลง ถึงแม้ว่าโอไมครอนอาจไม่ได้น่ากลัว แต่หุ้นกลุ่มเปิดเมืองก็คงขึ้นไปต่อไม่ได้มาก เพราะที่ผ่านมา ปรับขึ้นไปมากแล้ว ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ ถ้าจะให้ปลอดภัย แนะนำให้เลือกลงทุนหุ้นกลุ่มธุรกิจการเงินทั่วโลก (global financial) จากเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น” นายมนรัฐกล่าว

ขณะที่ “ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์” ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ทาลิสกล่าวว่า จากความไม่แน่นอนในเรื่องโอไมครอนก็น่าจะทำให้ผู้ลงทุนต้องระมัดระวังเรื่องการลงทุนพอสมควร โดยที่ผ่านมา จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนว่าปริมาณการซื้อขายต่อวันลดลงค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ดี แม้ว่าช่วงที่ผ่านมา โอไมครอนจะกระทบต่อตลาดหุ้นในหลายประเทศ แต่ในแง่การลงทุนก็ยังสามารถลงทุนได้ในระยะยาว เพียงแต่ในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้า ผลตอบแทนที่ได้อาจจะไม่ได้น่าตื่นเต้นนัก และตลาดก็อาจจะผันผวนขึ้นลง

“คาดว่าปัจจัยเรื่องโอไมครอนน่าจะเริ่มเบาบางลง หลังจากหลายส่วนออกมาแจ้งว่าอาการไม่ได้รุนแรง ส่วนประเด็นเฟดจะยังคงกดดันตลาดหุ้นในระยะ 2-3 เดือนข้างหน้าอยู่ โดยในระยะนี้แนะนำการลงทุนในหุ้นเติบโต (growth stock) น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีในช่วงที่ตลาดผันผวน”

ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ทาลิส กล่าวด้วยว่า ตลาดหุ้นในช่วงเดือน ธ.ค. โดยปกติในต่างประเทศจะค่อนข้างเงียบ โดยเฉพาะตั้งแต่กลางเดือนเป็นต้นไป เพื่อรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ดังนั้นในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นคงไม่ไปไหนมากนัก และในแง่ของการลงทุน คงต้องมองยาวไปถึงปีหน้า เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ตลาดเริ่มพักผ่อน

ฟาก “ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์” นักกลยุทธ์การลงทุน บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หลายประเทศมีมาตรการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน โดยมีการออกมาตรการจำกัดการเดินทางจากบางประเทศในแอฟริกา

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่ารัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ไม่ได้ต้องการที่จะใช้มาตรการล็อกดาวน์ (lockdown) ที่เข้มงวด เว้นเสียแต่ว่าจะถูกสถานการณ์บังคับหากเกิดการระบาดอย่างรุนแรง หรือความสามารถในการให้บริการของระบบสาธารณสุขเข้าไปใกล้ขีดจำกัดมากเกินไป

ทั้งนี้ การลงทุนในต่างประเทศแนะนำให้เน้นลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงให้สมดุลระหว่างกลุ่มหุ้น growth stock และหุ้นวัฏจักร (cyclical) รวมถึงควรกระจายความเสี่ยงไปยังหลายสินทรัพย์ รวมถึงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มสุขภาพทั่วโลก (global healthcare)

“ดร.จิติพล” กล่าวอีกว่า ส่วนปัจจัยการดำเนินนโยบายของเฟด เชื่อว่าเฟดน่าจะไม่ได้ต้องการชะลอการลด QE ลง แม้ว่าแรงกดดันให้เร่งลด QE อาจจะลดลงบ้างจากความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดยยังคาดว่าเฟดอาจจะต้องการรักษาทางเลือกที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้เร็วขึ้น ในกรณีที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงกลางปี 2565

ดร.จิติพล กล่าวว่า ในกรณีที่หากเฟดมีการปรับลด QE เร็วขึ้นจริง มองว่าจะเห็นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (ยีลด์) ระยะสั้น อายุ 2-5 ปีปรับตัวขึ้น ทำให้การลงทุนทั้งหุ้นและพันธบัตร (บอนด์)มีโอกาสปรับฐานในช่วงปลายปีนี้ ดังนั้นกลยุทธ์คือลดการลงทุนในบอนด์และหาจังหวะเข้าลงทุนในหุ้นที่ปรับฐาน มองว่าธีมที่สามารถถือลงทุนข้ามปีได้คือเทคโนโลยี, ยานยนต์ไฟฟ้า (EV), Fintech และหุ่นยนต์ (robotics)

ทั้งหมดนี้ เป็นการวิเคราะห์และข้อแนะนำจากกูรูในด้านการลงทุน ที่น่าจะช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ ท่ามกลางความผันผวนที่มีมากขึ้นทุกวัน